ประวัติความเป็นมา
 
 
 
 

 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดนครพนม

                    จังหวัดนครพนมเป็นจังหวัดชายแดนติดแม่น้ำโขง มีพรมแดนทอดยาวไปตามลำน้ำซึ่งแบ่งกั้นเขตแดนกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นระยะทางกว่า 153 กิโลเมตร มีเนื้อที่ รวม 5512.66 ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบสูง วัดความสูงจากระดับน้ำทะเล 140 เมตร  เสน่ห์ชุมชนจังหวัดนครพนม ซึ่งประกอบด้วยชนเผ่าต่าง ๆ รวม ๙ เผ่า ได้แก่ 

                        1. ชนเผ่าผู้ไทย
                        2. ชนเผ่าไทยแสก
                        3. ชนเผ่าไทยข่า
                        4. ชนเผ่าไทยญ้อ
                        5. ชนเผ่าไทยกะเลิง
                        6. ชนเผ่าไทยอีสาน
                        7. ชนเผ่าไทยโส้
                        8. ชนเผ่าไทยกวน
                        9. ชนเผ่าไทยตาด 

                        นอกจากนี้ยังมี ๒ เชื้อชาติ คือ จีน เวียดนาม แบ่งเขตการปกครองเป็น 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครพนม ธาตุพนม ปลาปาก เรณูนคร นาแก นาหว้า นาทม บ้านแพง โพนสวรรค์ ท่าอุเทน ศรีสงคราม และอำเภอวังยาง ด้วยความสำคัญทางด้านความมั่นคง ความหลากหลายทางด้านศิลปวัฒนธรรมและประเพณี ตลอดจนความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ ในฐานะจังหวัดชายแดนที่เป็นประตูสู่อินโดจีน จังหวัดนครพนมได้ร้องขอให้รัฐบาลดำเนินการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อเป็นสื่อกลางภาครัฐกับประชาชน ในการสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีกับประชาชนทั้งในประเทศและนอกประเทศ ปี พ.ศ.2515 จังหวัดนครพนมอนุมัติให้กรมประชาสัมพันธ์ใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ภูกระแต บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 4 ถนนนิตโย ตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม จำนวน 17 ไร่เศษ เป็นที่ตั้งสถานีวิทยุ เดือนกุมภาพันธ์ 2516 เริ่มดำเนินการก่อสร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดนครพนม ระบบ เอ.เอ็ม. เดือนสิงหาคม 2516 เริ่มทดลองออกอากาศในระบบ เอ.เอ็ม.ความถี่ 981 กิโลเฮิรตซ์ ด้วยกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ 23 เมษายน 2517 ทำพิธีเปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดนครพนมอย่างเป็นทางการ ดำเนินการส่งกระจายเสียงในระบบ เอ.เอ็ม.ด้วยความถี่ 981 กิโลเฮิรตซ์ กำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ 1 มีนาคม 2535 ทำการปรับปรุงสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดนครพนม โดยเพิ่มกำลังส่งเป็น 20 กิโลวัตต์ เดือนตุลาคม 2538 เริ่มก่อสร้างอาคารและติดตั้งเครื่องส่งระบบ เอฟ.เอ็ม เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งระบบเพื่อสนองตอบความต้องการของประชาชนที่ต้องการรับฟังการกระจายเสียงระบบ เอฟ.เอ็ม สเตอริโอมัลติเพล็กซ์ เดือนกันยายน 2539 ดำเนินการส่งกระจายเสียงระบบ เอฟ.เอ็ม ความถี่ 90.25 เมกะเฮิรตซ์ กำลังส่ง 1 กิโลวัตต์ ปัจจุบัน สวท.นครพนม ส่งกระจายเสียง 1 ระบบ คือ ระบบ เอฟ.เอ็ม ความถี่ 90.25 เมกะเฮิรตซ์  ในส่วน ระบบเอเอ็ม ความถี่ 981 กิโลเฮิรตซ์ ได้ยุติการส่งกระจายเสียง เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564

 ตรากรมประชาสัมพันธ์

      ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งปรากฎในราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 7 เล่มที่ 64 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2490 กำหนดเครื่องหมายราชการ "กรมโฆษณาการ” ให้เป็นรูปพระอินทร์เป่าสังข์เหาะลอยอยู่เหนือเมฆ มีวงกลมล้อมรอบตามวรรณคดีกล่าวไว้ว่า พระอินทร์เป่าสังข์ปลุกพระนารายณ์ให้ตื่นจากบรรทมสินธุ์ในสะดือทะเล เพื่อขึ้นมาปราบเหตุร้ายต่าง ๆ ในโลก อย่างไรก็ดี โดยที่สังข์ ตามลัทธิพราหมณ์ถือว่าเป็นมงคล 3 คือ สังข์ ถือกำเนิดจากพระพรหม ท้องสังข์เคยเป็นที่ซ่อนคัมภีร์พระเวทและตัวสังข์ มีรอยนิ้วพระหัตถ์ ของพระนารายณ์ ในพิธีทางศาสนา พราหมณ์ จึงมีการเป่าสังข์เพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย นอกจากนี้ พระในลัทธิชินโตก็ใช้สังข์เป่าในพิธีมงคลพวกชาวเกาะทะเลใต้ เป่าสังข์ บอกสัญญาณระหว่างกันปรากฏว่าได้ยินไปไกลไม่แพ้เป่าเขาควาย เนื่องจากงานประชาสัมพันธ์เป็นการโฆษณาเผยแพร่และอธิบายชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจอย่างกว้างขวางเป็นการสร้างความเข้าใจอันดี โดยมีวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และภาพยนตร์เป็นเครื่องช่วย จึงเปรียบได้กับการเป่าสังข์ของเทวดาในสมัยโบราณเพื่อบอก สัญญาณ และเรียกประชุม นั่นเอง

 

 สีกรมประชาสัมพันธ์

ใช้สีม่วง ซึ่งถือกันว่าเป็นสีของงานสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์

 

Link banner

 

Copy code นี้ไปลงในเว็บไซต์ของท่าน

 <a href="http://www.prd.go.th" target="_blank"><img src="http://www.prd.go.th/images/prd_banner01.jpg" border="0" alt="กรมประชาสัมพันธ์"

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar