การบริหารจัดการรับมือน้ำท่วมพร้อมระดมความช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบประชาชน

จากอิทธิพลร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบนและมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคเหนือด้านตะวันตก ประกอบกับสถานการณ์พายุ "โนรู (NORU) ที่เข้าประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 28 ก.ย. 65 ที่ผ่านมา ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรงบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคกลาง สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่ปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก ส่งผลให้มีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ รวม 35 จังหวัด
• ภาคเหนือ จำนวน 11 จังหวัด เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา สุโขทัย พิจิตร ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ อุทัยธานี และนครสวรรค์
• ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 13 จังหวัด เลย ชัยภูมิ ขอนแก่น หนองบัวลำภู อุดรธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร อุบลราชธานี นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และสุรินทร์
• ภาคกลาง จำนวน 9 จังหวัด ลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี และนครปฐม
• ภาคตะวันออก จำนวน 2 จังหวัด ปราจีนบุรี สระแก้ว
การรับมือน้ำท่วมในแต่ละพื้นที่แบ่งเป็น 3 โซน
• พื้นที่เฝ้าระวัง ให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ คอยฟังประกาศจากผู้รู้หรือหอกระจายข่าว
• พื้นที่เตือนภัย ให้เตรียมตัวพร้อมรับสถานการณ์ เก็บรวบรวมสิ่งของที่จำเป็น รอฟังประกาศและสัญญาณครั้งต่อไป
• พื้นที่อพยพ ให้เคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่ปลอดภัยที่มีการแจ้งให้ทราบ
รายงานการเตือนภัยน้ำหลาก - ดินถล่ม ด้วยระบบ Early Warning System วันที่ 5 ตุลาคม
สถานะเตรียมพร้อม 4 หมู่บ้าน บริเวณ จ.เพชรบุรี
สถานะเฝ้าระวัง จำนวน 16 หมู่บ้าน บริเวณ จ.เพชรบุรี 1 หมู่บ้าน จ.ระยอง 4 หมู่บ้าน จ.สระแก้ว 7 หมู่บ้าน และ จ.จันทบุรี 4 หมู่บ้าน
เหตุการณวิกฤตน้ำปจจุบัน
จ.พระนครศรีอยุธยา - ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา หลังจากที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำใหน้ำเริ่มทวมลนตลิ่งเขาพื้นถนนบริเวณหัวแหลมหรือ บริเวณหน้าพระศรีสุริโยทัย ตำบลทาวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือ เกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา แลวกว่าหลาย 10 เซนติเมตร
จ.ปราจีนบุรี - สถานการณน้ำในแม่น้ำปราจีนบุรี ได้เออลนเขาท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมน้ำในหลายอำเภอและหลายหมูบ้านไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ต้นน้ำ ตั้งแต่อ.กบินทรบุรี พื้นที่กลางน้ำ อ.ศรีมหาโพธิ และพื้นที่ปลายน้ำ อ.บ้านสร้าง รวมทั้งบริเวณตลาดเกา 100 ป พบวามีระดับสะสมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จ.เชียงใหม่ - สถานการณน้ำท่วมในเขตตัวเมืองเชียงใหม่เนื่องจากน้ำในแม่น้ำปิงเออลนตลิ่ง ล่าสุดระดับน้ำในแม่น้ำปิง ที่สถานีตรวจวัด P.1 สะพานนวรัฐ อยู่ที่ 4.41 เมตร ซึ่งยังคงสูงกวาระดับวิกฤติที่อยู่ที่ 3.7 เมตร
*ข้อมูล ณ วันที่ 6 ต.ค. 65 09.30 น.

การดำเนินการช่วยเหลือภาครัฐ
ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศและกรุงเทพมหานคร รวมทั้ง
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บูรณาการการบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัยและให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นขณะนี้ โดยปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน ตามที่นายกฯ
สั่งการ วันที่ 3 ต.ค. 65
1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านการพยากรณ์ และคาดการณ์ลักษณะอากาศวิเคราะห์ข้อมูลสภาพอากาศ สถานการณ์น้ำและพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย แจ้งให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ประสานไปยังกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเพื่อแจ้งเตือนประชาชนผ่านทุกช่องทาง ไปถึงชุมชน หมู่บ้าน ให้ประชาชนรับทราบ และเตรียมความพร้อมในการรับมือสถานการณ์อุทกภัยในเบื้องต้น
2. กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทุกระดับ เตรียมความพร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ เครื่องจักรกล สาธารณภัย ให้พร้อมออกปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชนตามแผนเผชิญเหตุอุทกภัย อาทิ การกำจัดวัชพืช ขยะตามเส้นทางน้ำ การพร่องน้ำในแหล่งน้ำ การเร่งระบายน้ำ/การเปิดทางน้ำ/ผลักดันน้ำ ออกจากพื้นที่ชุมชนที่ประสบปัญหาน้ำท่วม
3. กำชับหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบการก่อสร้าง บำรุงรักษาถนน ในการตรวจสอบปรับปรุง กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาโครงการที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาการระบายน้ำในช่วงฝนตกหนัก พร้อมทั้งให้จัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกการจราจรติดตั้งป้าย/สัญญาณจราจรแจ้งเตือนประชาชนใช้ความระมัดระวัง หรือหลีกเสี่ยงเส้นทางดังกล่าวให้ชัดเจน โดยให้แก้ปัญหา ที่เกิดขึ้นจากถนนให้ครบถ้วน ทั้งทางลอดการติดตั้งสัญญาณจราจร ป้าย ควรแจ้งเตือนและเฝ้าระวังเส้นทางหลีกเลี่ยง และควรปักแนวถนนสำหรับรถวิ่งผ่านในกรณีที่ถนนน้ำท่วม
4. เมื่อสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่คลี่คลาย ให้เร่งสำรวจผลกระทบ ความเสียหายในด้านต่าง ๆ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือ เยียวยา ตามกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว
5. เมื่อเกิดน้ำท่วมขังสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชน ให้มอบหมายฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ตลอดจนเชิญชวนประชาชนจิตอาสา ร่วมเฝ้าระวัง และร่วมกันกำจัด สิ่งกีดขวางทางน้ำพร้อมทั้งบูรณาการหน่วยงานฝ่ายพลเรือน หน่วยทหาร ตลอดจนภาคเอกชน ในการใช้เครื่องจักรกลสาธารณภัยเปิดทางน้ำ หรือสูบน้ำระบายออกจากพื้นที่ และการช่วยเหลือประชาชน
6. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างความเข้าใจกับประชาชนถึงแผนการบริหารจัดการสถานการณ์น้ำในระดับพื้นที่ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินการตามที่ประชาชนได้มีการร้องขอ
7. ให้กรมประชาสัมพันธ์ และจังหวัด ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างการรับรู้ผลการดำเนินการของภาครัฐ แก่พี่น้องประชาชนให้รวดเร็ว ผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างทั่วถึง
8. การให้บริการไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ต้องให้บริการได้นานและต่อเนื่องที่สุด และต้องมีแผนสำรองด้านการสื่อสาร
9. ให้เตรียมแผนรองรับในพื้นที่เศรษฐกิจ โรงพยาบาล สาธารณสุข เกษตรกร ชาวประมง ปศุสัตว์ เลี้ยงสัตว์ ให้มีแผนสื่อสารที่ชัดเจนว่าจะได้รับการดูแลอะไรบ้าง
10. การเตรียมความพร้อมศูนย์อพยพต้องเพียงพอ และสร้างความเชื่อมั่นใจให้กับประชาชน

รวมเบอร์ฉุกเฉินช่วยเหลือภัยน้ำท่วม
10 หมายเลขสายด่วน แจ้งเบอร์ฉุกเฉินช่วยเหลือภัยน้ำท่วม พร้อมช่วยเหลือ 24 ชม. สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้หากประสบภัยน้ำท่วม น้ำท่วมฉับพลัน
1. ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปก.) รับแจ้ง-เตือนภัยน้ำท่วม โทร. 1111 กด 5
2. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือนสาธารณภัย โทร. 1784
3. ร่วมด้วยช่วยกัน ประสานความช่วยเหลือ โทร. 1677
4. สภากาชาดไทย รับแจ้ง-เตือนภัย ช่วยเหลือสาธารณภัย โทร. 1664
5. บริการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นำส่งโรงพยาบาล กู้ชีพ โทร. 1669
6. ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ขอความช่วยเหลือ โทร. 1193
7. ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ขอความช่วยเหลือ โทร. 1146
8. ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ข้อมูลภัยพิบัติ โทร. 192
9. กรมอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลสภาพอากาศ โทร. 1182
10. กรมชลประทาน สถานการณ์น้ำ-เขื่อน โทร. 1460
 


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar